5 กุมภาพันธ์ 2558

ทฤษฎีลิงสามตัว

ทฤษฎีลิง 3 ตัว

ทฤษฎีลิง 3 ตัว ของขงจื้อ
         สาระสำคัญ ทฤษฎีลิง 3 ตัวนี้เป็นทฤษฎีของนักปราชญ์ชาวจีน โดยมีความเชื่อว่าการเป็นผู้บริหารที่ดีนั้น ต้องรู้จักควบคุมการฟัง ควบคุมการมอง และควบคุมการพูด ซึ่งเปรียบเทียบได้กับสัญลักษณ์ของลิงทั้ง 3 ตัวนี้มีลักษณะแตกต่างกัน ก็เปรียบเสมือนกับคนเราย่อมแตกต่างกัน ลิงตัวเดียวไม่สามารถปิดหู ปิดตา ปิดปากได้ในเวลาเดียวกัน เพราะมีมือเพียงสองมือเท่านั้น มนุษย์ก็เช่นกันไม่สามารถทำอะไรในเวลาเดียวกันได้ทุก อย่าง เพราะฉะนั้นผู้บริหารควรจะเลือกนำมาใช้ว่าสถานการณ์ใดควรใช้แบบใด 

ทฤษฎีลิง 3 ตัว มีรายละเอียด ดังนี้
         ลิงตัวที่ 1 นั่งปิดหูหนึ่งหู ก็หมายความว่า คนเราควรจะรู้จักควบคุมว่าอะไรที่ควรฟังหรือไม่ควรฟั ง ต้องแยกแยะในสิ่งที่ฟังมา ต้องฟังหูไว้หู แล้วนำสิ่งที่ฟังมาวิเคราะห์ว่ามันเป็นอย่างไร โดยใช้หลักการและเหตุผลมาประกอบเข้าด้วยกัน อย่าเชื่อในสิ่งที่เราฟังทั้งหมด เพราะมันอาจจะไม่ใช่ความจริงทั้งหมดก็ได้

         ลิงตัวที่ 2 นั่งปิดตาหนึ่งตา ก็หมายความว่า รู้จักควบคุมการมองว่าอะไรควรมองหรือไม่ควรมอง อย่างเชื่อในสิ่งที่เรามองเห็นทั้งหมด เพราะบางครั้งสิ่งที่เรามองเห็นก็ไม่ใช่เรื่องจริงทั ้งหมด มองแล้วพิจารณาไตร่ตรอง อย่าตัดสินคนทันทีที่เห็น 

         ลิงตัวที่ 3 นั่งปิดปากครึ่งปาก ก็หมายความว่า รู้จักควบคุมการพูดว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูดอย่างไ ร การเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานก็ตาม ควรจะไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูดอะไรออกมา เพราะบางครั้งคำพูดของเราอาจจะไปกระทบกับบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว หรืออาจจะนำความเสียหายมาสู่องค์กรได้ เพราะฉะนั้นการที่เราจะทำอะไรก็ควรจะคิด และพิจารณาให้ดีก่อนที่จะพูดออกไป ....

ปริศนาธรรม "ลิงสามตัว" : สุญญตาธรรม

เปรียบจิตคน เหมือนลิง กลิ้งไปมา
หัดปิดหู ปิดตา ปิดปากบ้าง
ไม่ยินดี ยินร้าย สิ่งต่างต่าง
ปล่อยจิตวาง ว่างไว้ ไร้ตัวกู

เมื่อจิตว่าง วางได้ ไร้ตัวตน
ไม่ต้องมัว สะละวน ปิดตาหู
มีสิ่งใด ให้เห็น ให้ตาดู
สักแต่รู้ จิตไม่ยึด ไม่เกาะตาม

อันความทุกข์ มีได้ เพราะใจยึด
ดิ้นไม่หลุด ติดพัน เพราะใจหาญ
กล้าไปแต่ง เป็นตัวกู ของกูตาม
มีแต่พาล ให้เกลือกกลั้ว ในชั่วดี

อันจิตว่าง ใจว่าง ตามแต่เดิม
ไม่ต้องเสริม ไม่ต้องตัด ให้บัดสี
ปล่อยจิตใจ เป็นธรรม- ชาติดี
ทุกอย่างมี ล้วนไม่หลุด ไม่ติดใคร

อันความว่าง ว่างอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ
ไม่ต้องอาจ ไปเสริมแต่ง ให้ว่างใหม่
ธรรมชาติ ล้วนสมบูรณ์ อยู่ภายใน
หัดเข้าใจ เช่นนั้นเอง ในตัวเรา

หัดฝึกจิต ให้แยบคาย เมื่อผัสสะ
ใช้ตบะ ใช้ปัญญา อย่าได้เขลา
เมื่อกระทบ อย่ากระเทือน เป็นตัวเรา
ปล่อยให้เขา เป็นธรรม ของเขาเอย

อันความรู้ ในธรรมขั้น สุญญตา
อย่าเพ่งหา ในที่ใด สหายเอ๋ย
ตถตา แจ้งอยู่แล้ว ตามที่เคย
ฝึกให้เคย ทุกสิ่งว่าง แล้วในตัว

นพ.ดิลก พูนสวัสดิ์