18 ธันวาคม 2561

หลักการ แนวคิด และทฤษฎี บริหารการศึกษา


ข้าพเจ้าได้สรุปสาระสำคัญองค์ความรู้ของหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจพอสังเขปและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อบูรณาการออกแบบขั้นตอนการดำเนินงานในแต่ละกลยุทธ์ ดังนี้
1. การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management : RBM) ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โรงเรียนบ้านซับกระดานมุ่งพัฒนาที่ตัวครูก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ก่อน ครูจะได้เป็นแบบอย่างที่ดี เป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อน คือ การทำให้ผู้เรียนรู้จักความพอเพียง ปลูกฝัง อบรม บ่มเพาะให้ผู้เรียนมีความสมดุลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ โรงเรียนบ้านซับกระดานได้น้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวง ร.๙ คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาบูรณาการการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา ได้แก่ การบริหารโรงเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมเสริมหลักสูตร การพัฒนาคุณธรรมนักเรียน การพัฒนาบุคลากร และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน                               
2) การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่างๆ เข้าในการสอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี 3) การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ โดยออกแบบการเรียนรู้ให้มีทั้งการให้ความรู้และกระบวนการไปพร้อมๆ กัน เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด 4) การบูรณาการความรู้ ความคิดกับคุณธรรม โดยเน้นทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเป็นการเรียนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่นักเรียนจะได้เป็น ผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม” 5) การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ เน้นการปฏิบัติจริง ควบคู่ไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียน พยายามให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าและความหมายในสิ่งที่เรียน
ควรจะกระทำด้วยความจริงใจและความหวังดี ๓) ควรเสริมแรงทันทีที่มีพฤติกรรมทั้งดีและไม่ดีเกิดขึ้น และ

) มีเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญต่ออาชีพครูมาก ดังนั้นครูควรที่จะมีการระงับอารมณ์ ไม่กระทำอะไรที่รุนแรงจนเกินไป โดยเฉพาะในเรื่องของการลงโทษผู้เรียนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ควรตั้งอยู่บนเหตุผลและความเหมาะสมในการลงโทษ การเสริมแรงอย่างไรที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด         


          การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร เป็นเรื่องของการวางยุทธศาสตร์เพื่อทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กร (SWOT Analysis) ให้ได้มาซึ่งเป้าประสงค์สุดท้ายที่ต้องการขององค์กรหรือวิสัยทัศน์ (Vision) อันจะนำไปสู่การกำหนดพันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Target)  และกลยุทธ์การดำเนินงาน (Strategy) รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จขององค์กร (Critical Success Factors : CSF) และสร้างตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators : KPI) ในด้านต่าง ๆ 2) การกำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน หาข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับสภาพในปัจจุบัน (Baseline Data) เพื่อนำมาช่วยในการกำหนดความชัดเจนของตัวบ่งชี้ดังกล่าว ทั้งในเชิงปริมาณ (Quantity) คุณภาพ (Quality) เวลา (Time) และสถานที่หรือความครอบคลุม (Place) อันเป็นเป้าหมายที่ต้องการของแต่ละตัวบ่งชี้ 3) การวัดและการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และ 4) การให้รางวัลตอบแทน การให้ข้อเสนอแนะหรือกำหนดมาตรการบางประการเพื่อให้มีการปรับปรุงผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

. การนิเทศ (Supervision)
          การนิเทศเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งสัมฤทธิ์ผลสูงสุดในการเรียนรู้ของนักเรียน โดยมีจุดม่งหมายเพื่อพัฒนาคนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ การสร้างความสัมพันธ์ และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการ (การทำงานเป็นขั้นตอน/มีความต่อเนื่อง/เป็นระบบ/ไม่หยุดนิ่ง/มีปฏิสัมพันธ์) ทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่คุณภาพและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของนักเรียน และเน้นบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งองค์ประกอบของการนิเทศภายในสถานศึกษา ได้แก่ 1. บุคลากรนิเทศ 2. วิธีการนิเทศ 2.1) กำหนดจุดมุ่งหมายการนิเทศ  2.2) กำหนดวิธีการหาข้อมูล  ศึกษาปัญหาอุปสรรค และประเด็นที่ต้องพัฒนา 2.3) กำหนดวิธีหรือกิจกรรมการนิเทศ ตามความเหมาะสม และ 3. เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบบันทึกพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกบรรยากาศในชั้นเรียน และเอกสารอ้างอิง

. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)
          ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง การรวมตัว ร่วมมือร่วมใจและร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหารและนักการศึกษาบนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมายและภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีมการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารเป็นผู้ดูแลสนับสนุนสู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ เปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเองสู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญและความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ มีขั้นตอน คือ 1) ระบุปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน/การทำงานของครูที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา 2) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้น 3) ระดมความคิดเพื่อนำเสนอวิธีแก้ปัญหา ดำเนินการอภิปรายสรุป และเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม 4) ทดลองใช้วิธีแก้ปัญหา ไปทดลองใช้ในการเรียนการสอนในชั้นเรียน/ในการทำงาน โดยร่วมกันสังเกตการสอน การทำงาน และเก็บข้อมูล และ 5) สรุปผลวิธีการแก้ปัญหา อภิปรายผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้ นำเสนอผลการสังเกตการสอนและเสนอแนะวิธีการปรับปรุงแก้ไข แล้วจึงสรุปผลวิธีการแก้ปัญหาที่ให้ผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน/การทำงาน แล้วทำการแบ่งปันประสบการณ์กับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (The Philosophy of Sufficiency Economy)

. การมีส่วนร่วม (Participation)
          การทำงานแบบมีส่วนร่วมนั้นไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว ระดับโรงเรียน ระดับชุมชน ระดับองค์กร หรือระดับประเทศนั้นว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนทัศน์ปัจจุบัน เพราะจะช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเกิดความรู้สึกความเป็นเจ้าของ (ownership) และจะทำให้ผู้มีส่วนร่วมหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ยินยอมปฏิบัติตาม (compliance) และรวมถึงตกลงยอมรับ (commitment) ได้อย่างสมัครใจ เต็มใจ และสบายใจ ซึ่งหลักการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ คือ 1) ร่วมทำการศึกษาค้นคว้าปัญหาและสาเหตุปัญหาที่เกิดขึ้น 2) ร่วมคิดหาและสร้างรูปแบบและวิธีการพัฒนาและลดปัญหา 3) ร่วมวางนโยบายหรือแผนงานหรือโครงการกิจกรรมเพื่อขจัดและแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการ 4) ร่วมตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 5) ร่วมจัดหรือปรับปรุงในระบบการบริหารงานพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 6) ร่วมการลงทุนในกิจกรรมตามขีดความสามารถของตนเอง 7) ร่วมปฏิบัติตามนโยบายแผนงาน โครงการและกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และ 8) ร่วมควบคุม ติดตาม ประเมินผล และร่วมบำรุงรักษาโครงการและกิจกรรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Learning Integration)
            การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงของการเรียนรู้ (Transfer of learning) ลักษณะของการบูรณาการ มีลักษณะโดยสรุปดังนี้ 1) การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ 

. การเสริมแรง (Reinforcement)
          การให้การเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และถือได้ว่าเป็นการให้กำลังใจแก่ผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การเสริมแรงทางบวก และการเสริมแรงทางลบ ด้วยเหตุนี้ครูควรจะรู้ถึงหลักในการเสริมแรง คือ ) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม ไม่ลำเอียง ไม่ว่าจะเป็นการเสริมแรงทางด้านบวกหรือด้านลบ ครูผู้สอนควรจะมองผู้เรียนด้วยความเท่าเทียมกัน เพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเรียน ) มีความจริงใจในการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นกล่าวคำชม หรือแม้กระทั่งการว่ากล่าวตักเตือน

. วงจรคุณภาพ PDCA
          วงจรคุณภาพ PDCA มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ๑. ขั้นตอนการวางแผน (Plan) ครอบคลุมถึงการกำหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน พร้อมกับพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลใดบ้าง แล้วกำหนดทางเลือกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ๒. ขั้นตอนการดำเนินการ (DO) คือ การลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผน ในขั้นนี้ต้องตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติด้วยว่าได้ดำเนินไปในทิศทางที่กำหนดไว้หรือไม่ . ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check) คือ การประเมินผลและการตรวจสอบทำให้เราทราบว่าการปฏิบัติในขั้นที่สองสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ และ ๔. ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนา (Act) จะพิจารณาอยู่ 2 กรณี คือ ๑) หากผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ก็ให้นำแนวทางนั้นมาจัดทำให้เป็นมาตรฐาน และ ๒) หากผลที่ได้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่วางไว้ เราควรพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ดังนี้ ๒.1) มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้ ๒.2) ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม ๒.3) ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้ และ ๒.4) เปลี่ยนเป้าหมายใหม่