แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพโรงเรียน
คุณภาพของโรงเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการศึกษาให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ นับว่าเป็นความท้าทายในการดำเนินงาน โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องแสดงความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ จะต้องกำกับและติดตาม ตรวจสอบปรับปรุงพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของโรงเรียนและนักเรียน จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติการทั้งการเรียนการสอน และการทำงานของครูและเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาอัตราการออกกลางคันของนักเรียน และความพึงพอใจของบุคลากร ตลอดจนจัดโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
ความหมายคุณภาพโรงเรียน
นักวิชาการและนักการศึกษาได้ให้ความหมายของคำว่าคุณภาพโรงเรียน ดังนี้
สุชาดา ถิระวัฒน์ (2537 : 56) ให้ความหมายคุณภาพของโรงเรียนก็คือ คุณภาพของครูเป็นครูที่ดี ครูที่พัฒนาตนเอง ศึกษาหาความรู้ เตรียมการสอนทุกสิ่งทุกอย่าง รู้หน้าที่และมีคุณธรรม
กรมวิชาการ (2538 : 2–3) กล่าวว่า คุณภาพการศึกษา หมายถึง การที่ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะต่าง ๆ ครบถ้วนตามความคาดหวังของหลักสูตรอันเป็นผลมาจากการที่หน่วยงานและบุคคลทุกระดับทุกฝ่าย ทั้งจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นร่วมกับชุมชนจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ นโยบายที่ชัดเจน การจัดทรัพยากรที่เหมาะสม บุคลากรการศึกษามีคุณภาพ สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้ออำนวย ผู้เรียนมีความพร้อม หลักสูตร สื่อ วัสดุอุปกรณ์มีคุณภาพ ท้องถิ่นให้ความร่วมมือและสนับสนุน
ธร สุนทรายุทธ (2551 : 470) ได้นิยามคุณภาพทางการศึกษาหมายถึง ผลผลิตรวมของสถาบันการศึกษา ที่ได้ผลงานเป็นผู้สำเร็จการศึกษา ผลงานและผลการจัดการศึกษา ที่ประกอบด้วยคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของผู้ผลิตนั้น อันจะตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือผู้ที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อสังคม โดยรวมในทางที่ดีน่าปารถนา
สรุปได้ว่า คุณภาพการศึกษาหรือคุณภาพของโรงเรียนเป็นผลมาจากการจัดการศึกษาที่มีการทำงานเป็นระบบ มีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีการวางแผนและดำเนินงานตามแผน เพื่อทำให้ผู้เรียน ซึ่งเป็นผลผลิตเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจ มีคุณธรรม จริยธรรม บรรลุตามจุดหมายที่กำหนด อีกทั้งเป็นที่ยอมรับของประชาชนและชุมชน โดยมีผู้บริหาร ครู นักเรียน บุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการ รวมถึงสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การศึกษามีคุณภาพ
ลักษณะของโรงเรียนที่มีคุณภาพ
คุณภาพโรงเรียนเป็นประเด็นปัญหาหนึ่งที่สังคมไทยกำลังให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ กระทรวงศึกษาธิการกำลังพยายามที่ปรับคุณภาพโรงเรียนด้วยการปฏิรูปการศึกษา ลักษณะของโรงเรียนที่มีคุณภาพนั้น ได้มีนักวิชาการและนักการศึกษาด้านการบริหารการศึกษา ให้ความคิดเห็นแตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้
กรมการศึกษาและการอบรม (Department of Education & Learning) แห่งรัฐวิคตอเรียของประเทศออสเตรเลีย ได้ใช้ “โมเดลโรงเรียนคุณภาพ” เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ ให้แก่โรงเรียนในสังกัดรัฐบาล จนทำให้เกิดความสำเร็จในการจัดการศึกษา ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โรงเรียนที่มีคุณภาพเป็นโรงเรียนที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ 8 ประการ ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553 : 67)
1. ความเป็นผู้นำมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา
2. การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอนของครู
3. การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
4. การจัดการเรียนการสอนที่กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจน
5. การกำหนดความคาดหวังที่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถบรรลุถึงได้
6. การสร้างโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
7. การสร้างความรู้สึกรับผิดชอบในการจัดการศึกษา
8. การสนับสนุน ส่งเสริมและสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
เซอร์จิโอแวนนิ (Sergiovani, 2001 : 124 - 125) ได้กล่าวถึงลักษณะของโรงเรียนที่มีคุณภาพสูง 13 ประการ ประกอบด้วย
1. มีการวางแผนด้านหลักสูตร (Planned Curriculum)
2. ผ่านความเห็นชอบต่อหลักสูตรของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน (School Board Approved Curriculum)
3. เกณฑ์จบหลักสูตรที่อยู่ในระดับสูง (Strong Graduation Requirement)
4. การส่งเสริมวิชาการที่มากกว่ามาตรฐาน (Academic Offerings That Go Beyond the Basics)
5. มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (Positive Learning Climate)
6. อัตราการมาเรียนของนักเรียนสูงและการออกกลางคันต่ำ (Good Attendance and Low Dropout Rates)
7. งบประมาณสำหรับนักเรียนมีอัตราสูง (High Per Pupil Expenditure) 8. สัดส่วนนักเรียนต่อครูต่ำ (Low Pupil - Teacher Ratio)
9. ห้องสมุดและสื่อการเรียนการสอนที่สมบูรณ์ (Superior Library and Media Programs)
10. สภาพทางกายภาพของโรงเรียนที่ดึงดูดใจ (Attractive Campus)
11. ครูมีความรู้ดีเยี่ยม (Solid Gold)
12. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีความเอาใจใส่ (Principal Who Cares)
13. มีการจัดเก็บข้อมูลของนักเรียนที่ประสบความสำเร็จ (Record of Student Achievement)
นอกจากนี้ ออนสไตน์ (Ornstein, 2003 : 474 cited in Lunenburg & Ornstein, 2004 : 411-412) ได้สรุปเกณฑ์ความมีคุณภาพของโรงเรียนประถมศึกษามี 12 ประการ คือ
1. ผลคะแนนจากผลสอบอ้างอิงปกติ
2. คะแนนจากการเทียบกับเกณฑ์อ้างอิง
3. คะแนนจากแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น
4. คะแนนจากผลผลิตคือความคิดรวบยอดของนักเรียน
5. ความเห็นของครูและผู้บริหารเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายของนักเรียน
6. ความคิดเห็นของผู้ปกครองและชุมชน
7. การมีส่วนร่วมของนักเรียนในกิจกรรมเสริมหลักสูตร
8. รางวัลที่นักเรียนได้รับ
9. อัตราการมาเรียน
10. จำนวนวัสดุ สื่อ ที่นักเรียนยืมจากห้องสมุด
11. คุณภาพความสามารถในโปรแกรมอื่นๆ เช่น งานศิลปะ ดนตรีและการแสดง
12. การให้การสนับสนุนของชุมชนต่อโรงเรียน
ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดความสำเร็จที่คาดหวังในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนไว้ 3 ระดับ ตามตาราง
Module ด้าน
|
1. ระดับปรับปรุงเป็นพอใช้
|
2. ระดับพอใช้เป็นดี
|
3. ระดับดีเป็นดีมาก
|
นักเรียน
|
- อ่านคล่อง เขียนคล่อง
คิดเลขเป็นคิดเชิงเปรียบเทียบ
รับผิดชอบ มีวินัย ประหยัด
สุขภาพแข็งแรง
รักสิ่งแวดล้อม จิตใจเบิกบาน
ตื่นตัวและพร้อมที่จะเรียน
|
- คิดวิเคราะห์เปรียบเทียบ
สรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ ทำงาน
ร่วมกับผู้อื่นได้
|
- คิดวิเคราะห์เชื่อมโยง
เป็นเหตุเป็นผล มีความคิด
ริเริ่ม มีความเป็นเลิศทาง
วิชาการ ตามความถนัด
มีทักษะการจัดการ และ
ใช้ ICT เป็น
|
ครู
|
- รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล
สอนโดยเน้นทักษะการคิด
ใช้สื่อช่วยสอน
|
- สอนโดยคำนึงถึงความ
แตกต่างของผู้เรียน
ผลิตสื่อช่วยสอน
ใช้ผลการวิจัยพัฒนา
ผู้เรียน |
- ใช้เทคนิคการสอน
หลากหลาย ใช้สื่อ ICT
ในการสอน มีการวิจัย และพัฒนานวัตกรรม |
ผู้บริหารโรงเรียน
|
- มุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ
ยึดหลักธรรมาภิบาล
ทำงานร่วมกับคณะกรรมการ
สถานศึกษาได้ดี
|
- เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
เน้นการพัฒนางาน
วิชาการ ทำงานเป็น
ระบบ นำ ICT มาใช้
ในการเรียนการสอน
และการบริหาร
|
- เน้นความเป็นเลิศทาง
วิชาการ สร้างวัฒนธรรม การเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการเรียนรู้
ในชุมชน
|
ปัจจัย
พื้นฐาน
|
- สถานที่เรียนสะอาด
ปลอดภัย มีสาธารณูปโภค
พื้นฐาน ห้องสมุดมีหนังสือ
เพียงพอ
|
- มีห้องปฏิบัติการที่ใช้การ
ได้ดี จัดและใช้แหล่ง
เรียนรู้หลากหลาย มีสื่อ
ICT เพียงพอ
|
- สิ่งแวดล้อมทั้งใน
และนอกห้องเรียนเอื้อ
ให้นักเรียนรักการเรียนรู้
|