5 กุมภาพันธ์ 2558

รายงาน คศ.3

ส่งรายงานก่อนอบรม ชำนาญการพิเศษ คศ.3
เอกสารประกอบการอบรม
หน่วยพัฒนา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ปกหน้ารายงาน
                    เอกสารรายงานค้นคว้าประกอบการอบรมเข้ารับการพัฒนาหลักสูตร
                  การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
     ก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

รุ่นที่ ….  วันที่ …… ……  2555




จัดทำโดย

นายวีรพงษ์  ไชยหงษ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสมุหประดิษฐ์ 
(วันครู 2501)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1







หน่วยพัฒนา
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา


                                                                คำนำ
                เอกสารรายงานค้นคว้าประกอบการอบรมเข้ารับการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษฉบับนี้ ข้าพเจ้าจัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมตามที่หน่วยพัฒนาโดย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาได้กำหนดไว้ว่า ผู้เข้ารับการอบรมจักต้องจัดทำใบกิจกรรมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานนี้จะเป็นส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ที่จะใช้ประกอบการอบรมที่มีคุณค่าทางวิชาการ และขอขอบพระคุณอย่างสูงคณาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาที่อนุญาตให้สิทธิข้าพเจ้าเข้ารับการอบรมในครั้งนี้


                                                                                                                      วีรพงษ์  ไชยหงษ์

                                                                สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                          หน้า


ส่วนที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้อำนวยการและ
รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ                                                                                      
2
                หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ

                1.1 การวางแผนกลยุทธ์การประเมินแผนงาน (งาน โครงการ)                                          2
                1.2 การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการงานวิชาการของสถานศึกษาเพื่อผลิต                               
และพัฒนาผู้เรียนหรือกำลังคนสู่ประชาคมอาเซียน                                                                        2                  
                1.3 การมอบหมายงาน การกำกับติดตามงาน และการส่งเสริมการพัฒนาครู
เพื่อพัฒนาผู้เรียน                                                                                                              3
                1.4 การนำกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เกี่ยวข้องไปใช้ใน
การบริหารจัดการสถานศึกษาและวิชาชีพ                                                                                  3
                1.5 การระดมทรัพยากรและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา                                                                          4
                1.6 การส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
สถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้                                                                                           4
ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและวางแผนพัฒนาคุณภาพ                                    
การปฏิบัติงานของผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ                                       5
                หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ

                2.1 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา                                                               5
                2.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                    6
                2.3 การสร้างพลังเครือข่ายความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้                                            6
                2.4 กระบวนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา                                              7
 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ                                   
                3.1 ผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรมและการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี                                    7
                3.2 วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา                                                   8
                3.3 การมีจิตสำนึกความมุ่งมั่น การสร้างศรัทธาและมีอุดมการณ์ในวิชาชีพ                            9

สรุปองค์ความรู้จากเอกสารรายงาน  แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา                               10


หน่วยพัฒนา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้กำหนดขอบเขตการค้นคว้า
ใบกิจกรรมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ประกอบด้วย

ส่วนที่ 
1 การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
            หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ

           1.1 การวางแผนกลยุทธ์การประเมินแผนงาน (งาน โครงการ)
           1.2 การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการงานวิชาการของสถานศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนาผู้เรียนหรือกำลังคนสู่ประชาคมอาเซียน
           1.3 การมอบหมายงาน การกำกับติดตามงาน และการส่งเสริมการพัฒนาครูเพื่อพัฒนาผู้เรียน
           1.4 การนำกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและวิชาชีพ
           1.5 การระดมทรัพยากรและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา
           1.6 การส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและวางแผนพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
            หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ

            2.1 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
            2.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            2.3 การสร้างพลังเครือข่ายความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
            2.4 กระบวนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา

            หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ
            3.1 ผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรมและการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
            3.2 วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
            3.3 การมีจิตสำนึกความมุ่งมั่น การสร้างศรัทธาและมีอุดมการณ์ในวิชาชีพ
 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ
         1.1 การวางแผนกลยุทธ์การประเมินแผนงาน (งาน โครงการ)
               ในการจัดทำแผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาการศึกษา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วยครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และชุมชน มีส่วนร่วมดำเนินการโดยกำหนดเป็นขั้นตอนดังนี้ (ภารดี อนันต์นาวี, 2551 : 288 - 289)
                1. ทบทวนภารกิจการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และศึกษารายงานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
                2. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษา (SWOT) และประเมินสภาพของสถานศึกษา               
                3. กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และเป้าประสงค์ (Corporate Objective) ของสถานศึกษา
                4. กำหนดกลยุทธ์ของสถานศึกษา
                5. กำหนดผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicators : KPIs) โดยจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศ
                6. กำหนดเป้าหมายระยะปานกลางของผลผลิตในเชิงปริมาณ คุณภาพ และผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่จะทำร่างข้อตกลงกับเขตพื้นที่การศึกษา
                7. จัดทำรายละเอียดโครงสร้าง แผนงาน งาน/โครงการ และกิจกรรมหลัก
                8. จัดให้รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงและนำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษา
                9. เผยแพร่ ประกาศต่อสาธารณชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
          1.2 การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการงานวิชาการของสถานศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนาผู้เรียนหรือกำลังคนสู่ประชาคมอาเซียน
                สถานศึกษาจำเป็นจะต้องจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญ มีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน และมีทักษะพร้อมที่จะเข้าสู่การรวมกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายลักษณะ แต่ที่สอดคล้องมากที่สุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียน ที่สามารถจัดได้ในหลากหลายลักษณะ มีดังนี้
                1. จัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งมีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/สาระการเรียนรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับอาเซียน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
                2. จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ โดยอาจบูรณาการในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือบูรณาการหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้เข้าด้วยกัน โดยให้กลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นแกน
                3. จัดการเรียนรู้โดยการจัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติม
                4. จัดการเรียนรู้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                5. จัดเป็นกิจกรรมเสริมที่เป็นกิจกรรมในสถานศึกษา
         1.3 การมอบหมายงาน การกำกับติดตามงาน และการส่งเสริมการพัฒนาครูเพื่อพัฒนาผู้เรียน
                ความจำเป็นที่จะต้องมอบหมายงานให้ผู้ร่วมงาน ให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการต่างๆบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย โดยวิธีการกระจายอำนาจไปตามสายงานและตามหน้าที่รับผิดชอบ โดยยึดหลักการ ดังนี้
                1) กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ
ความสนใจและความถนัด ตลอดทั้งภารกิจหลักของโรงเรียน โดยให้บุคลากรมีหน้าที่หลักและหน้าที่สนับสนุนประกอบกัน
                2) ชี้แจงแนะนำแนวทางในการปฏิบัติงานให้ผู้รับมอบหมายมีความเข้าใจถูกต้องชัดเจน
ในการปฏิบัติงาน
                3) ติดตาม กำกับการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ โดยวางแผนไว้ล่วงหน้าชัดเจน
                4) นิเทศให้ความรู้ ความช่วยเหลือ สนับสนุน ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลปฏิบัติงาน
                5) ให้การบำรุงขวัญกำลังใจหรือเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง เหมาะสมและยุติธรรม
                6) ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ใช้ผลการประเมินประกอบ
การวางแผนพิจารณาความดีความชอบหรือส่งเสริมความก้าวหน้าต่อไป
         1.4 การนำกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและวิชาชีพ
                การบริหารกิจการสถานศึกษา โดยการศึกษานโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 เพื่อกำหนดเป็นนโยบายของโรงเรียนโดยใช้หลักบริหาร เทคนิควิธีและกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคี   เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)  พ.ศ. 2555  และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546  คือ ด้านบริหารงานวิชาการ  ด้านบริหารงานงบประมาณ  ด้านบริหารงานบุคคล  และด้านบริหารงานทั่วไป และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยการใช้ทรัพยากรการบริหารที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภารกิจทั้ง 4 งาน
         1.5 การระดมทรัพยากรและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา
               โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ต้องร่วมพัฒนา  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้องค์กรและชุมชนต่างๆ เพื่อขอรับความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ดังนี้
                 1) ส่งเสริม สนับสนุนคณะครูให้มีส่วนร่วมเป็นคณะทำงานแก่ชุมชนและหน่วยงานอื่น
                 2) สนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน เนื่องจากชุมชนเป็นแหล่งวิชาการที่นักเรียน ครู จะได้ประสบการณ์ตรง
                 3) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หน่วยงานอื่นโดยเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนตามโอกาสอันควรในงานประเพณีต่างๆ
                 4) ให้บริการบริเวณ อาคารสถานที่และพัสดุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมของชุมชนและหน่วยงานอื่น ตามระเบียบของทางราชการ เป็นประจำ
                 5)  ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นในการพัฒนาโรงเรียน
                 6) มีแผนปฏิบัติการให้ครูออกเยี่ยมผู้ปกครอง เพื่อทราบปัญหาความต้องการร่วมกัน
สร้างความคุ้นเคยในการแก้ปัญหานักเรียน เป็นประจำทุกภาคเรียน และพบผู้ปกครองในหลายรูปแบบ เช่นการประชุม การจัดกิจกรรมในโรงเรียน เป็นต้น
                 7)  มีการเชิญบุคลากรท้องถิ่นมาเป็นวิทยากรในโรงเรียน ให้ความรู้ในบางครั้งบางโอกาส เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากรู้ อยากเรียน
                 8)  มีการประชุมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรส่วนท้องถิ่น
และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างเหมาะสม
         1.6 การส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้
                เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสิ่งสนับสนุนให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลดียิ่งขึ้น โรงเรียนจึงต้องจัดหาจัดบริการให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ประโยชน์  คือ
                       1. มีหลักสูตรและแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละสาระการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือ และการจัดการเรียนรู้ตามแผนฯ ที่กำหนด 
                       2. ผู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
                       3. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในรูปแบบที่หลากหลาย ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และได้ทำกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามความสนใจของผู้เรียน
                       4. ผู้เรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สามารถสร้างสรรค์และนำเสนอผลงานที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
                       5. มีการจัดรวบรวมสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเป็นระบบ จัดเป็นคลังแหล่งเรียนรู้ ศูนย์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศหรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
 ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและวางแผนพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
             หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ

                                2.1 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
                                2.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                                2.3 การสร้างพลังเครือข่ายความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
                                2.4 กระบวนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา
       2.1 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
             โรงเรียนเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องมีหลักสูตรสถานศึกษาและนำหลักสูตรไปใช้ บุคคลสำคัญที่จะต้องเป็นผู้นำการใช้หลักสูตรคือผู้บริหารโรงเรียน ข้าพเจ้าได้ดำเนินการด้านหลักสูตร ดังนี้
                       1. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น โดยคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโดยยึด หลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก
                       2. การแปลหลักการและจุดหมายของหลักสูตร ให้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อจัดแนวการเรียนการสอนให้สนองต่อหลักการและจุดหมายของหลักสูตร
                       3. วางแผนการเรียนการสอน โดยประชุมครูในโรงเรียนเพื่อตรวจสอบหลักสูตร ร่วมกันศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร คู่มือครู จัดอบรมครู โดยเชิญวิทยากรผู้ชำนาญการเป็นผู้ให้ความรู้แก่คณะครู สำรวจเวลาเรียนในรอบปีการศึกษา ร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนการสอน กำหนดกิจกรรมประเมินผลการศึกษา จัดเตรียมสภาพแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ครู และผู้ปฏิบัติงานทุกฝ่าย
                       4. ส่งเสริมให้ครูร่วมมือกันในการพัฒนาการเรียนการสอนโดยประชุมปรึกษากันเป็นระยะ ๆ เกี่ยวกับปัญหาการใช้หลักสูตร และแนวทางการแก้ไขปัญหา
                       5. ส่งเสริมให้ครูร่วมกันวางแผน พัฒนาหลักสูตรปรับกระบวนทัศน์หลักสูตรให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนและสภาพท้องถิ่น
       2.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
             โรงเรียนวัดสมุหประดิษฐ์ (วันครู 2501) จัดการศึกษา  2 ระดับคือ ระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา ซึ่งมีจุดเน้นในการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
                1. การพัฒนาทางด้านจิตใจในระดับชั้นอนุบาล โรงเรียนเน้นการพัฒนาจิตพิสัย 5 เรื่อง
                        1) ความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์  เพื่อพัฒนาให้เด็กกระตือรือร้น สนใจ  ฝักใฝ่แสวงหาความรู้ มีความกล้าคิด  กล้าตัดสินใจ และเห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ
                        2) ความมีน้ำใจ เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีความเมตตากรุณา รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละแบ่งปัน และสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้
                        3) ความมีวินัย เพื่อฝึกให้เด็กสามารถควบคุมตนเอง ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงตามกติกาอย่างถูกต้อง กล้าแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้
                        4) ความเป็นไทย เพื่อปลูกฝังให้เด็กเห็นคุณค่าและภูมิใจในความเป็นไทย ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย เช่น มารยาทไทย การละเล่นแบบไทย และมีความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  
                        5) บริโภคด้วยปัญญาในวิถีชีวิตไทย เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักตัดสินใจเลือกรับ หรือด้วยการวิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล เสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
                2. ระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 1 ประถมศึกษาปีที่ 1–2 เน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยใช้วิชาภาษาไทยเป็นแกน ระดับช่วงชั้นที่ 2 ครูผู้สอนจะบูรณาการวิชาต่างๆ กล่าวคือ การจัดกิจกรรมการเรียน จะเน้นหรือให้ความสำคัญต่อผู้เรียน ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ การสังเกต การคิด การทดลอง และการแสวงหาความรู้อย่างเป็นกระบวนการ ผู้บริหารโรงเรียนและคณะกรรมการนิเทศ จะช่วยนิเทศแนะนำ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนใช้นวัตกรรม และคิดค้นนวัตกรรม การเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการสอนมาใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา การสอนแบบโครงงาน และการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
       2.3 การสร้างพลังเครือข่ายความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
             โรงเรียนได้ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ ทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัยโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  ดังนี้
                  1. มีแผนปฏิบัติการสำรวจเด็กในเขตบริการเข้าเรียนและส่งเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทุกคน
                  2. ส่งเสริมสนับสนุนคณะครูให้มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการแก่ชุมชน ท้องถิ่น เช่น เป็นคณะ กรรมการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งท้องถิ่น และการเป็นคณะกรรมการพัฒนาชุมชน
                  3. ให้บริการบริเวณ อาคารสถานที่และพัสดุครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมของชุมชนและหน่วยงานอื่น ตามระเบียบของทางราชการ
                  4. ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานจัดหาสื่อคอมพิวเตอร์ จัดหาโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย
                  5. แสวงหาบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
      2.4 กระบวนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา
            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2547 : 101) ได้ระบุว่าการพัฒนาองค์การไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จำเป็นต้องผสานแนวคิดทั้งหมดไว้ด้วยกัน สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆ ประกอบด้วย
                      1. การสร้างบรรยากาศแบบเปิดให้สมาชิกในองค์การได้มีโอกาสทราบถึงความจำเป็นและประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
                      2. ทำการพัฒนาวินัยทั้ง 5 ประการได้แก่  1) การเป็นบุคคลที่รอบรู้ (Personal mastery) 2) การมีแบบแผนความคิด (Mental models) 3) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared vision) 4) การเรียนรู้เป็นทีม (Team learning)  5) การคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking) แก่สมาชิกทุกคนในองค์การ เพื่อเป็นการปรับพื้นฐานวิธีการคิดและวิธีการปฏิบัติต่อตนเองและต่อองค์การ
                      3. ทำการพัฒนาองค์การเรียนรู้ในระดับองค์การ คือ การสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบงานต่างๆให้พร้อมต่อการเรียนรู้
                      4. ทำการพัฒนาตัวผู้นำให้เกิดทักษะต่างๆต่อการเป็นผู้นำที่มีความเป็นเลิศ
                      5. กำหนดรูปแบบของการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและส่วนรวม ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบ
                      6. กำหนดมาตรการในการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะ เข้าสู่การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยเป็นลักษณะของงานที่ท้าทายและการสนับสนุน
                      7. พัฒนาและส่งเสริมระบบการทำงานเป็นทีม โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ
                  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ
                            3.1 ผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรมและการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
                            3.2 วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
                            3.3 การมีจิตสำนึกความมุ่งมั่น การสร้างศรัทธาและมีอุดมการณ์ในวิชาชีพ
                  3.1 ผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรมและการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
                        คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารก็นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งกับการพัฒนาหน่วยงานทั้งระบบ ข้าพเจ้าจึงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง โดยยึดคุณธรรมในการบริหาร ดังนี้
                        การครองตน ยึดหลักอิทธิบาท 4 คือคุณธรรมประจำตนในการที่จะทำงานในหน้าที่ของตนให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่
                         1)  ฉันทะ คือ ความพอใจและเอาใจใส่การงานในหน้าที่ของตน               
                         2)  วิริยะ คือ ความพากเพียรในการประกอบหน้าที่การงาน
                         3)  จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ ฝักใฝ่ในการทำงานไม่ทอดทิ้ง
                         4)  วิมังสา คือ หมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผลและวิธีการที่จะทำให้การงานเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ
                        การครองคน ยึดหลักสังคหวัตถุ 4 คือ คุณธรรมที่เป็นเครื่องผูกมัดจิตใจผู้อื่นและบุคคลทั่วไป ได้แก่
                         1)  ทาน คือ การให้ ปันสิ่งของแก่บุคคลที่สมควรให้ปัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นตามสมควรแก่กรณี
                         2)  ปิยวาจา คือ มีวาจาอ่อนหวาน สุภาพเรียบร้อย
                         3)  อัตถจริยา คือ ประพฤติตนเป็นผู้ทำคุณ ประโยชน์
                         4)  สมานัตตา คือ เป็นคนวางตนเหมาะสม ไม่ถือตัว ไม่ถือยศศักดิ์ เข้ากันได้กับผู้ร่วมงานทุกคนตามความเหมาะสมกับฐานะ หน้าที่การงาน
                         การครองงาน ยึดหลักฆราวาสธรรม 4 คือ คุณธรรมของผู้ครองเรือน 4 ประการ ได้แก่
                         1)  สัจจะ คือ ความจริงใจ
                         2)  ทมะ คือ การข่มใจ
                         3)  ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้น
                         4) จาคะ คือ การให้ การรู้จักเสียสละ
          3.2 วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
                ข้าพเจ้าดำเนินการระเบียบแบบแผนที่ข้าราชการต้องประพฤติปฏิบัติและรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพครู ดังนี้
                     จรรยาบรรณต่อตนเอง ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ อุทิศเวลาให้กับงานราชการ พัฒนาตนเองด้วยการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ประพฤติตนเหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนและเพื่อนร่วมงาน
                     จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ รักและศรัทธาในวิชาชีพครู ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ อบรม สั่งสอนความรู้ คุณธรรมจริยธรรม ทักษะชีวิตแก่นักเรียนด้วยความเต็มใจและเป็นสุข และร่วมมือกับองค์กรพัฒนาวิชาชีพให้ก้าวหน้า
                     จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                       ด้านนักเรียน รักและเมตตาต่อศิษย์ด้วยความจริงใจและเสมอภาค
                       ด้านเพื่อนร่วมงาน เป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนร่วมงาน ให้ความร่วมมือในการทำงาน ช่วยเหลือให้คำปรึกษาให้บริการในด้านการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพของเพื่อนครู
                       ด้านชุมชน  เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน ให้บริการในด้านการใช้อาคารสถานที่ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน บริการวัสดุอุปกรณ์ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการในการจัดกิจกรรมต่างๆกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
                     จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมองค์กรทุกคน ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ใช้ระบบธรรมาภิบาลในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความโปร่งใส เน้นประสานประโยชน์      
                     จรรยาบรรณต่อสังคม เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ช่วยเหลืองานของสังคม ท้องถิ่น และชุมชนอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้นำครูและนักเรียนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
       3.3 การมีจิตสำนึกความมุ่งมั่น การสร้างศรัทธาและมีอุดมการณ์ในวิชาชีพ
             หลักการทำงาน : การครองตน ครองคน ครองงาน                1. รู้เด็ก รู้ผู้ร่วมงาน รู้ผู้บริหาร รู้ชุมชน หมายถึง ต้องทราบถึงข้อมูล สารสนเทศ ของผู้ที่จะทำการปฏิสัมพันธ์ด้วย และต้องเป็นไปอย่างกัลยาณมิตร ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์มากมาย ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences) หลักการประสานประโยชน์ หลักความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ (Maslow ’s hierarchy of needs)  “ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา” “รู้รักสามัคคี” และที่สำคัญอีกประการคือ ผู้บริหารต้องผดุงไว้ซึ่ง “ความจริงใจ  ความงาม และความดี”
                2. อุทิศตนให้ราชการ หมายถึง ความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อทางราชการเป็นสำคัญ ยอมเสียสสะเพื่อปฏิบัติงานให้กับทางราชการ เช่น หากมีภารกิจเร่งด่วน แม้เป็นวันหยุด ก็พร้อมปฏิบัติหน้าที่เสมอ
                3. ประสานงานเครือข่าย หมายถึง การใช้หลักการมีมนุษยสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานหรือการประกอบภารกิจต่างๆ กล่าวคือการปฏิบัติงานจะต้องพึ่งพาอาศัยพลังจากส่วนต่างๆ ไม่สำคัญตนเอง การสร้างเครือข่ายการทำงานทำให้งานมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีรวมทั้งน่าเชื่อถือ
                4. หลากหลายองค์ความรู้ หมายถึง การปฏิบัติงานใดๆก็ตาม ต้องใช้ความรู้ความสามารถหลายประการ ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องสั่งสมองค์ความรู้ไว้ให้มาก ซึ่งทำได้โดยการศึกษาค้นคว้าดูงาน อบรมเพิ่มเติม เปิดประตูใจรับฟังจากคนอื่นๆ ไม่ทำตนเป็นคนประเภทชาล้นถ้วย ต้องทำตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เช่นกัน
                5. มุ่งเชิดชูคุณธรรม หมายถึง การรู้จักแยกแยะความดีออกจากความชั่วร้ายให้ได้ ผู้บริหารต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและบุคคลโดยทั่วไป ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา และยกย่องเชิดชูผู้คนให้ปฏิบัติตนเป็นคนดี น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ จะได้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
                6. เป็นผู้นำประชาธิปไตย หมายถึง การปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบแห่งเหตุและผล ไม่ยึดอารมณ์ในการปฏิบัติงาน ยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่าและหลักการมีส่วนร่วม พร้อมยึดคุณธรรม 3 ประการ คือ คารวะธรรม สามัคคีธรรมและปัญญาธรรม
                7. จริงใจต่อภาระหน้าที่ หมายถึง การมีคุณธรรมอันสูงส่งในการปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างเสมอต้นเสมอปลายไม่ให้มีความย่อหย่อน คุณธรรมนี้ก็คือ “อิทธิบาท 4” อันประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
                8. มีจรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง การยึดถือและน้อมนำมาปฏิบัติย่างสมบูรณ์ ซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความเชื่อมั่น ศรัทธา  มีความพึงพอใจและภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีและเกียรติยศแห่งอาชีพ
 สรุปองค์ความรู้จากการค้นคว้าประกอบรายงาน แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา

                                                          
“แนวคิดในการพัฒนาโรงเรียน”
                โรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคมที่มีหน้าที่จัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความรู้ คุณธรรมจริยธรรม สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ภารกิจของสถานศึกษาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในยุคของโลกาภิวัตน์ที่สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สถานศึกษาซึ่งมีหน้าที่เตรียมและพัฒนาคน จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดรูปแบบการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องให้มีความเป็นเลิศเพื่อให้สามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีคุณภาพ
                การพัฒนาสถานศึกษาเพื่อให้เป็นเลิศซึ่งจะกล่าวในประเด็นต่างๆ ดังนี้

             1.บทบาทของผู้บริหารต่อการพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ                ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะนำพาสถานศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ ผู้บริหารจึงต้องมีความรอบรู้ในการบริหาร มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ โปร่งใส เอาใจใส่และทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างจริงจัง ดังนี้
                   1.ยึดคุณภาพนักเรียนเป็นเป้าหมายสูงสุดในการบริหารสถานศึกษา
                   2.ใช้มาตรฐานการศึกษาของชาติและมาตรฐานการศึกษาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ
                   3.ยึดหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) เป็นกรอบกำกับการบริหาร
                   4.ยึดหลักธรรมมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า เป็นหลักในการบริหาร
                   5.ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานและแก้ปัญหา เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนที่เกี่ยวข้อง
                   6.พัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนอย่างแท้จริง มีสมรรถภาพในการจัดการความรู้
                   7.ใช้กรอบแนวทางจากยุทธศาสตร์ชาติ แผนบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล กฎหมาย ระเบียบ แบบแผนที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา โดยปรับให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของสถานศึกษา
             2.ลักษณะสถานศึกษาที่เป็นเลิศ                โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่มีความเป็นเลิศนั้นจะต้องมีสังคมบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ มีความพร้อมในด้านทรัพยากร วัตถุ เทคโนโลยี งบประมาณ และทรัพยากรบุคคล สามารถจัดการศึกษาได้อย่างดี ทั้งในด้านการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด และได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วนทุกด้านเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข เป็นโรงเรียนที่สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เป็นที่ชื่นชมของชุมชน
                ลักษณะสถานศึกษาหรือโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่างๆ ของโรงเรียนทั้งส่วนที่เป็นบริบท (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output หรือ Product) ซึ่งเป็นแนวคิดการใช้องค์ประกอบเชิงระบบ (System Approach) เข้ามาเป็นกรอบการพิจารณาดังนี้ 
องค์ประกอบ
ลักษณะที่เป็นเลิศ
ด้านบริบท
(Context)
 สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียนดี มีสังคม บรรยากาศ
 สิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษา
ด้านปัจจัยนำเข้า
(Input)
  ทรัพยากรบุคคล ผู้บริหาร ครู เป็นบุคลากรมืออาชีพ
  ทรัพยากรวัตถุ เทคโนโลยี และงบประมาณ
- ทรัพยากรวัตถุ เทคโนโลยี และงบประมาณได้มาตรฐาน เหมาะสม
  ทันสมัยและเพียงพอ
- หลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
- แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนหลากหลาย
- การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานยุทธศาสตร์
ด้านกระบวนการ
(Process)
 กระบวนการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด
 กระบวนการบริหารจัดการ โดยเน้นโรงเรียนเป็นฐาน เน้นการมีส่วนร่วม
 การประกันคุณภาพการศึกษา มีประสิทธิภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารโรงเรียน
ด้านผลผลิต
(Output หรือ Product)
 ผู้เรียน มีคุณภาพ มาตรฐาน มีพัฒนาการทุกด้าน มีความรู้ คุณธรรม
 โรงเรียนเป็นที่ชื่นชมของชุมชน เป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่น
             3.ขั้นตอนการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ                 กระบวนการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ มีกระบวนการตามขั้นตอน ดังนี้
                                1.กระตุ้นให้เกิดการปรับปรุง สร้างความตระหนักให้เกิดกับผู้เกี่ยวข้องว่างานของโรงเรียนต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพการจัดการศึกษา
                                2.หาความต้องการผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ศึกษาแผนบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์ของกระทรวง สพฐ. และเขตพื้นที่การศึกษา สำรวจความต้องการของชุมชน ผู้ปกครอง เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนา
                                3.การประเมินสภาพองค์กร หรือการวิเคราะห์องค์กร (SWOT) ศึกษาและประเมินโรงเรียนโดยวิเคราะห์จากจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของโรงเรียน
                                4.วางแผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี กำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหาร (Strategic Management) เพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพ เพื่อการดำเนินงานในกิจกรรมภารกิจหลักที่สำคัญ สร้างผลงาน สร้างคุณภาพ จากจุดแข็งของโรงเรียน การรวมพลังคนและทรัพยากรเพื่อการสนับสนุนภารกิจการบริหารงาน
                                5.วางแผนปฏิบัติงานประจำปี แปลงแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติในรูปของโครงการ กิจกรรม
                                6.เสริมสร้างศักยภาพในโรงเรียนองค์กรด้วยการจัดหาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ
                                7.ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ (Action plan)
                                8.วัดและประเมินผลการดำเนินงาน โดยประเมินตามตัวชี้วัด (KPI) ที่กำหนด
                                9.ปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
               4.หลักการทำงานเพื่อพัฒนาโรงเรียน                  การที่จะพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ นอกจากจะต้องดำเนินงานตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้บริหารโรงเรียน ยังจำเป็นต้องใช้หลักการทำงานที่สำคัญ ดังนี้
                                1.คำนึงถึงเป้าหมาย คือ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คุณธรรม
                                2.ทำงานด้วยความทุ่มเท ทำงานด้วยความรับผิดชอบ (รับผิดและรับชอบในผลงาน)
                                3.การทำงานเชิงรุก อย่างมีระบบ มีแผน มีการบริหารอย่างมีเป้าหมาย ตรวจสอบได้
                                4.การปฏิรูประบบการบริหารงาน ได้แก่
                                   -การบริหารงาน มีแผน มีเป้าหมาย ประเมินผลงาน
                                   -การบริหารคน ส่งเสริมคนดี คนเก่ง รับผิดชอบ รวดเร็ว
                                   -การบริหารเงิน เกิดประโยชน์ ประหยัด ประสิทธิภาพ
                                   -การพัฒนาบุคลากร เรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
                                5.การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานของโรงเรียน ดังนี้
                                   5.1) สร้างวิสัยทัศน์ใหม่ร่วมกัน
                                   5.2) สร้างพันธสัญญา ข้อตกลง ในการ
                                          -รับผิดชอบในหน้าที่ตามแผนงาน โครงการ ปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด (KPI)
                                          -พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
                                          -พัฒนาคุณภาพงานที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
              ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่า หากดำเนินการพัฒนาตามที่กล่าวมาข้างต้น โดยกระบวนการมีส่วนร่วม (Participative Management) แสวงหาความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายทั้งจากภายในและภายนอกสถานศึกษา ผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำทางวิชาการ คณะครู และกรรมการสถานศึกษา สนับสนุน คอยช่วยเหลือตลอดทั้งกำกับติดตาม เพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายปลายทาง คือ “สถานศึกษาที่เป็นเลิศ” เชื่อได้ว่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์ตามความมุ่งหวัง

                                                          บรรณานุกรม
ธีระ รุญเจริญ. (2548). สู่ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำ พลังขับเคลื่อนองค์การสู่ความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
                     อินโนกราฟฟิกส์.
ปาลิกา นิธิประเสริฐกุล. (2547). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำและองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล
                    ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                    ในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
                    (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2540). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อกรุงเทพ.
ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ภาควิชาการบริหารการศึกษา
                  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี : สำนักพิมพ์มนตรี.
วีรพงษ์ ไชยหงษ์. (2555). การครองตน ครองคน ครองงาน. [ออนไลน์]. สืบค้น :  www.weerapong.net
                  วันที่ 3 เมษายน 2555.
_________. (2555). การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ. [ออนไลน์]. สืบค้น :  www.weerapong.net
                  วันที่ 3 เมษายน 2555.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคม
                   อาเซียนระดับประถมศึกษา.
 [ออนไลน์]. สืบค้น :  http : // social-obec-go.th/library/
                   document/asean วันที่ 3 เมษายน 2555.