ข้าพเจ้าได้สรุปสาระสำคัญองค์ความรู้ของหลักการ
แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจพอสังเขปและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อบูรณาการออกแบบขั้นตอนการดำเนินงานในแต่ละกลยุทธ์
ดังนี้
1. การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result
Based Management : RBM) 2) การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่างๆ เข้าในการสอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี 3) การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ โดยออกแบบการเรียนรู้ให้มีทั้งการให้ความรู้และกระบวนการไปพร้อมๆ กัน เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด 4) การบูรณาการความรู้ ความคิดกับคุณธรรม โดยเน้นทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเป็นการเรียนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่นักเรียนจะได้เป็น “ผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม” 5) การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ เน้นการปฏิบัติจริง ควบคู่ไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียน พยายามให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าและความหมายในสิ่งที่เรียน
ควรจะกระทำด้วยความจริงใจและความหวังดี ๓) ควรเสริมแรงทันทีที่มีพฤติกรรมทั้งดีและไม่ดีเกิดขึ้น และ
๔
๔) มีเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญต่ออาชีพครูมาก ดังนั้นครูควรที่จะมีการระงับอารมณ์ ไม่กระทำอะไรที่รุนแรงจนเกินไป โดยเฉพาะในเรื่องของการลงโทษผู้เรียนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ควรตั้งอยู่บนเหตุผลและความเหมาะสมในการลงโทษ การเสริมแรงอย่างไรที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1)
การวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร
เป็นเรื่องของการวางยุทธศาสตร์เพื่อทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กร
(SWOT Analysis) ให้ได้มาซึ่งเป้าประสงค์สุดท้ายที่ต้องการขององค์กรหรือวิสัยทัศน์
(Vision) อันจะนำไปสู่การกำหนดพันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Target) และกลยุทธ์การดำเนินงาน (Strategy)
รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จขององค์กร (Critical
Success Factors : CSF) และสร้างตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key
Performance Indicators : KPI) ในด้านต่าง ๆ 2) การกำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน หาข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับสภาพในปัจจุบัน (Baseline
Data) เพื่อนำมาช่วยในการกำหนดความชัดเจนของตัวบ่งชี้ดังกล่าว ทั้งในเชิงปริมาณ (Quantity) คุณภาพ
(Quality) เวลา (Time) และสถานที่หรือความครอบคลุม (Place) อันเป็นเป้าหมายที่ต้องการของแต่ละตัวบ่งชี้ 3) การวัดและการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และ 4)
การให้รางวัลตอบแทน การให้ข้อเสนอแนะหรือกำหนดมาตรการบางประการเพื่อให้มีการปรับปรุงผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๒. การนิเทศ (Supervision)
การนิเทศเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษา
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อให้ได้มาซึ่งสัมฤทธิ์ผลสูงสุดในการเรียนรู้ของนักเรียน โดยมีจุดม่งหมายเพื่อพัฒนาคนและบุคลากรทางการศึกษา
พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ การสร้างความสัมพันธ์ และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการ
(การทำงานเป็นขั้นตอน/มีความต่อเนื่อง/เป็นระบบ/ไม่หยุดนิ่ง/มีปฏิสัมพันธ์)
ทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่คุณภาพและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของนักเรียน
และเน้นบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งองค์ประกอบของการนิเทศภายในสถานศึกษา ได้แก่
1. บุคลากรนิเทศ 2. วิธีการนิเทศ
2.1) กำหนดจุดมุ่งหมายการนิเทศ 2.2) กำหนดวิธีการหาข้อมูล
ศึกษาปัญหาอุปสรรค และประเด็นที่ต้องพัฒนา 2.3) กำหนดวิธีหรือกิจกรรมการนิเทศ ตามความเหมาะสม และ 3. เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสำรวจ แบบสังเกต
แบบบันทึกพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกบรรยากาศในชั้นเรียน และเอกสารอ้างอิง
๓. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community
: PLC)
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง การรวมตัว
ร่วมมือร่วมใจและร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหารและนักการศึกษาบนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร
มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมายและภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีมการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้นำร่วมกัน
และผู้บริหารเป็นผู้ดูแลสนับสนุนสู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ เปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเองสู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญและความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้
มีขั้นตอน คือ 1) ระบุปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน/การทำงานของครูที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา
2) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้น 3) ระดมความคิดเพื่อนำเสนอวิธีแก้ปัญหา ดำเนินการอภิปรายสรุป และเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
4) ทดลองใช้วิธีแก้ปัญหา ไปทดลองใช้ในการเรียนการสอนในชั้นเรียน/ในการทำงาน
โดยร่วมกันสังเกตการสอน การทำงาน และเก็บข้อมูล และ 5) สรุปผลวิธีการแก้ปัญหา
อภิปรายผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้ นำเสนอผลการสังเกตการสอนและเสนอแนะวิธีการปรับปรุงแก้ไข
แล้วจึงสรุปผลวิธีการแก้ปัญหาที่ให้ผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน/การทำงาน
แล้วทำการแบ่งปันประสบการณ์กับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
๔. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (The Philosophy of Sufficiency
Economy)
๕. การมีส่วนร่วม
(Participation)
การทำงานแบบมีส่วนร่วมนั้นไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว
ระดับโรงเรียน ระดับชุมชน ระดับองค์กร
หรือระดับประเทศนั้นว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนทัศน์ปัจจุบัน เพราะจะช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเกิดความรู้สึกความเป็นเจ้าของ
(ownership)
และจะทำให้ผู้มีส่วนร่วมหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น
ยินยอมปฏิบัติตาม (compliance) และรวมถึงตกลงยอมรับ (commitment)
ได้อย่างสมัครใจ เต็มใจ และสบายใจ ซึ่งหลักการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
คือ 1) ร่วมทำการศึกษาค้นคว้าปัญหาและสาเหตุปัญหาที่เกิดขึ้น
2) ร่วมคิดหาและสร้างรูปแบบและวิธีการพัฒนาและลดปัญหา 3) ร่วมวางนโยบายหรือแผนงานหรือโครงการกิจกรรมเพื่อขจัดและแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการ
4) ร่วมตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
5) ร่วมจัดหรือปรับปรุงในระบบการบริหารงานพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6) ร่วมการลงทุนในกิจกรรมตามขีดความสามารถของตนเอง 7)
ร่วมปฏิบัติตามนโยบายแผนงาน
โครงการและกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และ 8) ร่วมควบคุม
ติดตาม ประเมินผล และร่วมบำรุงรักษาโครงการและกิจกรรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
๖. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Learning Integration)
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงของการเรียนรู้
(Transfer
of learning) ลักษณะของการบูรณาการ มีลักษณะโดยสรุปดังนี้ 1) การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ
๗. การเสริมแรง (Reinforcement)
การให้การเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
และถือได้ว่าเป็นการให้กำลังใจแก่ผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ประเภท
คือ การเสริมแรงทางบวก และการเสริมแรงทางลบ
ด้วยเหตุนี้ครูควรจะรู้ถึงหลักในการเสริมแรง คือ ๑)
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม ไม่ลำเอียง
ไม่ว่าจะเป็นการเสริมแรงทางด้านบวกหรือด้านลบ
ครูผู้สอนควรจะมองผู้เรียนด้วยความเท่าเทียมกัน เพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเรียน ๒) มีความจริงใจในการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นกล่าวคำชม
หรือแม้กระทั่งการว่ากล่าวตักเตือน
๘. วงจรคุณภาพ PDCA
วงจรคุณภาพ PDCA มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ๑. ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
ครอบคลุมถึงการกำหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
การพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
พร้อมกับพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลใดบ้าง แล้วกำหนดทางเลือกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
๒. ขั้นตอนการดำเนินการ (DO) คือ การลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผน
ในขั้นนี้ต้องตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติด้วยว่าได้ดำเนินไปในทิศทางที่กำหนดไว้หรือไม่
๓. ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check) คือ การประเมินผลและการตรวจสอบทำให้เราทราบว่าการปฏิบัติในขั้นที่สองสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
และ
๔.
ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนา (Act) จะพิจารณาอยู่
2 กรณี คือ ๑) หากผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้
ก็ให้นำแนวทางนั้นมาจัดทำให้เป็นมาตรฐาน และ ๒) หากผลที่ได้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่วางไว้
เราควรพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ดังนี้ ๒.1) มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้
๒.2) ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม ๒.3) ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้ และ ๒.4) เปลี่ยนเป้าหมายใหม่